ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว ฟารีดา เจระจิต บล็อกนี้จะให้ความรู้เรื่องการตลาดในรูปแบบใหม่ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและถื่อเป็นความหมายมาตรฐาน

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กลยุทธ์ทางการตลาด



การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่

กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
               1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
               1.2 กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
               1.3 กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
               1.4 กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
               1.5 กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
               1.6 กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
               1.7 กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
               1.8 กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )

กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy) นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ

            1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) 
            2. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix )
            3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines )

สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept ) 
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง

             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติ แตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส

             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น